อัตราส่วน
อัตราส่วน เป็นการเปรียบเทียบปริมาณหนึ่งกับอีกปริมาณหนึ่ง หรือตั้งแต่ปริมาณสองสิ่งขึ้นไป โดยปริมาณที่นำมาเปรียบเทียบอาจมีหน่วยเดียวกันหรือต่างหน่วยก็ได้ เราเรียกว่า อัตราส่วน โดยการเปรียบเทียบปริมาณนั้นอาจแทนด้วยสัญลักษณ์ (ปริมาณของสิ่งแรก) : (ปริมาณของสิ่งที่สอง) หรือ เขียนแทนในรูปเศษส่วนได้คือ (ปริมาณของสิ่งแรก) / (ปริมาณของสิ่งที่สอง) หรืออ่านว่า (ปริมาณของสิ่งแรก) ต่อ (ปริมาณของสิ่งที่สอง)
ในทางคณิตศาสตร์ เราให้ a และ b เป็นจำนวนสองจำนวน (a เป็นปริมาณของสิ่งแรก และ b เป็นปริมาณของสิ่งที่สอง)
อัตราส่วนปริมาณ a ต่อปริมาณ b เขียนแทนด้วย a:b หรือ a / b (อ่านว่า เอ ต่อ บี) โดยที่ a > 0 และ b > 0
ตัวอย่างอัตราส่วนที่พบได้ในชีวิตประจำวัน
ในชีวิตประจำวัน เราสามารถใช้ความรู้เรื่องอัตราส่วน หาราคาสินค้าต่อหน่วยหรือเปรียบเทียบราคาสินค้าต่อหน่วยสินค้าชนิดเดียวกัน แต่ต่างยี่ห้อต่างแหล่งที่มาได้ เพื่อการเลือกซื้อที่คุ้มค่าที่สุด
ตัวอย่างเช่น เช่น เมื่อเราไปตลาดเพื่อซื้อไข่ไก่ ไข่ไก่ของร้าน A จำนวน 10 ฟอง ราคา 50 บาทและไข่ไก่ของร้าน B จำนวน 15 ฟอง ราคา 85 บาท เราสามารถใช้อัตราส่วนเพื่อคำนวณเปรียบเทียบหาราคาสินค้าต่อหน่วยได้ ดังนี้
ราคาต่อหน่วยของไข่ไก่ ร้าน A = 50 บาท / 10 ฟอง = 5.00 บาท/ฟอง
ราคาต่อหน่วยของไข่ไก่ ร้าน B = 85 บาท / 20 ฟอง = 4.25 บาท/ฟอง
ดังนั้น เราควรที่จะเลือกซื้อไข่ไก่ จากร้าน B จึงจะได้ราคาที่ถูกกว่า
มาตราส่วน
มาตราส่วน คือ อัตราส่วนระหว่างระยะห่างในแผนที่หรือภาพเป็นต้นกับระยะห่างจริงหรือกับระยะห่างบนแผนที่หรือภาพอื่น
ร้อยละ หรือเปอร์เซ็นต์ (Percentage Definition)
ร้อยละ เป็นตัวเลขอัตราส่วนที่มีจำนวนหลังหรือมีตัวส่วนเป็น 100 นิยมเรียกว่าเปอร์เซ็นต์ เราสามารถเปลี่ยนอัตราส่วนให้เป็นร้อยละ หรือเปลี่ยนร้อยละให้เป็นอัตราส่วนได้ นอกจากนี้เปอร์เซ็นต์ยังใช้เป็นเครื่องมือในการเปรียบเทียบสิ่งที่มีฐานต่างกัน จากการปรับฐานให้เท่ากันคือปรับฐานเป็น 100 หรือที่เราเรียกว่า ร้อยละ นั่นเอง
อาจสรุปให้เข้าใจโดยง่ายว่า ร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ คือ อัตราส่วนแสดงการเปรียบเทียบปริมาณใด
ปริมาณหนึ่งกับ 100 โดยอาจเขียนได้ดังนี้
ร้อยละ A หรือ A % เท่ากับ A:100 หรือ A / 100
เช่น ร้อยละ 12 หรือ 12 % เท่ากับ 12:100 หรือ 12 / 100
ร้อยละ 0.5 หรือ 0.5 % เท่ากับ 0.5:100 หรือ 0.5 / 100